Database / Halictidae / Ceylalictus (Atronomioides) bantoonei


ผึ้งจิ๋วบัณฑูรย์ (Bantoon)
Ceylalictus (Atronomioides) bantoonei Warrit & Michener, 2015

All images are from GBIF dataset: Database and digitization of bees in Thailand. (licensed under http://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/)

See Gallery

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน
Order:
Family: Halictidae
Tribe: Nomioidinae
Genus: Ceylalictus
Subgenus: Atronomioides
Specific epithet: bantoonei
Authorship: Warrit & Michener, 2015
Scientific Name: Ceylalictus (Atronomioides) bantoonei Warrit & Michener, 2015


ข้อมูลเบื้องต้น : ผึ้งจิ๋วบัณฑูรย์ เป็นผึ้งในสกุล Ceylalictus ซึ่งเป็นกลุ่มผึ้งที่หายากในประเทศไทย ผึ้งจิ๋วบัณฑูรย์ถูกพบครั้งแรกในบริเวณชายหาดของอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง ขณะที่กำลังตอมดอกของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) และถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ รศ.ดร.บัณฑูรย์ วาฤทธิ์ โดยธรรมชาติผึ้งกลุ่มนี้มีการขุดรูทำรังในดิน แต่ด้วยความหายากทำให้ข้อมูลทางชีววิทยาของผึ้งชนิดนี้ยังขาดอยู่มาก

ลักษณะเด่น : ผึ้งจิ๋วบัณฑูรย์เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็ก รูปทรงเพรียงยาว ร่างกายส่วนหัวและส่วนอกมีสีโทนดำเหลือบเขียวและมีความวามคล้ายโลหะ (metallic) เล็กน้อย ในส่วนท้องจะมีสีโทนดำน้ำตาล ในขณะที่มีรอยแต้มสีเหลืองปรากฏชัดเจนทั่วร่างกายโดยเฉพาะที่ส่วน clypeus ที่จะมีจุดดำแต้มเป็นรอยขีดสองขีด และลายพาดที่แผ่นปิดด้านบนของส่วนท้อง ขอบด้านในของตามีส่วนเว้าชัดเจน ส่วน tibia spur แตกแขนงยื่นออกเป็นซี่หวีชัดเจน

รหัสพันธุกรรม :

การกระจายพันธุ์ : ปัจจุบันยังมีการค้นพบเพียงครั้งเดียวคือที่บริเวณชายหาดของอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง ประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง :
Warrit N. and Michener C. D. 2015. A new bee of the genus Ceylalictus Strand, 1913 from Thailand (Hymenoptera: Halictidae). The Pan-Pacific Entomologist 91 (2): 128-134.

ผู้เขียนบทความ : P. Nalinrachatakan (2021)

แผนที่แสดงพิกัดของตัวอย่างผึ้งในฐานข้อมูล :