Database / Apidae / Apis (Megapis) dorsata


ผึ้งหลวง (Giant Honey bees)
Apis (Megapis) dorsata Fabricius, 1793

All images are from GBIF dataset: Database and digitization of bees in Thailand. (licensed under http://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/)

See Gallery

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน
Order: Hymenoptera
Family: Apidae
Tribe: Apini
Genus: Apis
Subgenus: Megapis
Specific epithet: dorsata
Authorship: Fabricius, 1793
Scientific Name: Apis (Megapis) dorsata Fabricius, 1793


ข้อมูลเบื้องต้น : ผึ้งหลวงเป็นผึ้งป่าที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและมีการแบ่งวรรณะชัดเจน มักสร้างรังในที่สูง เช่น บนต้นไม้หรือบริเวณผาหิน หรือแม้กระทั่งตามตึกสูง รังมีลักษณะเป็นรวงชั้นเดียวห้อยลง อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 2 เมตร และมักพบการรวมกลุ่ม (aggregation) ที่มักสร้างรังอยู่หลายรังใกล้กัน ผึ้งหลวงสามารถบินหาอาหารได้ไกลหลายกิโลเมตร และสามารถเข้าผสมเกสรพืชดอกได้หลากหลาย จากธรรมชาติในการสร้างรังของผึ้งหลวงดังกล่าว ผึ้งหลวงจึงส่งผลให้นำมาเลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรมได้ยาก และมักพฤติกรรมการหนีรัง (absconding) หลังจากนำมาเลี้ยง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะได้มาจากการตีรังจากในธรรมชาติ

ลักษณะเด่น : ผึ้งหลวงถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ giant honey bees (สกุลย่อย Megapis) ซึ่งมีขนาดตัวที่ใหญ่ได้มากถึง 3 เซนติเมตร โดยทั่วไปผึ้งหลวงมีลำตัวเรียวยาว มีร่างกายส่วนท้าย (metasoma) ที่ยื่นยาวชัดเจน ลักษณะเด่นคือมีปีกคู่หน้าที่ค่อนข้างใสโดยมีสีเข้มในบางส่วน ปีกคู่หลังมีเส้น Distal abscissa ปรากฏต่อจากปลายเส้น vein M เพศผู้ (drone) มีขนขึ้นหนาแน่นบริเวณ mesotarsi และ metatarsi ชัดเจน

รหัสพันธุกรรม : -

การกระจายพันธุ์ : พบได้ทั่วไปในประเทศไทย โดยมีการกระจายมากในแถบเอเชียงตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน รวมถึงจีนทางตอนใต้

เอกสารอ้างอิง :
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์. 2555. ชีววิทยาของผึ้ง พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Engel, M. S. 2001. The honey bees of Thailand (Hymenoptera: Apidae). Natural History Bulletin of the Siam Society 49(1): 113 –116.


ผู้เขียนบทความ : Pakorn Nalinrachatakan (2021)

แผนที่แสดงพิกัดของตัวอย่างผึ้งในฐานข้อมูล :