Database / Apidae / Elaphropoda () impatiens


ผึ้งหลุมอิมแพเทียนส์ (Impatiens Apis-like digger bee)
Elaphropoda () impatiens (Lieftinck, 1944)

All images are from GBIF dataset: Database and digitization of bees in Thailand. (licensed under http://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/)

See Gallery

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน
Order:
Family: Apidae
Tribe: Anthophoriini
Genus: Elaphropoda
Subgenus:
Specific epithet: impatiens
Authorship: (Lieftinck, 1944)
Scientific Name: Elaphropoda () impatiens (Lieftinck, 1944)


ข้อมูลเบื้องต้น : ผึ้งหลุมอิมแพเทียนส์เป็นผึ้งที่หาพบได้ยาก มีการดำรงชีวิตแบบโดดเดี่ยวและมักพบเฉพาะในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ซึ่งจากบันทึกของนักกีฏวิทยา Maurits Anne Lieftinck ที่พบผึ้งชนิดนี้บนภูเขาตังกามุช เกาะสุมาตราในช่วงปี ค.ศ. 1940 พบว่าผึ้งชนิดนี้มีการตอมดอกของพืชชนิดเดียวคือกลุ่มต้นเทียนดอก (wild Balsam) สีเหลือง ที่มักพบในที่ชุ่มน้ำ โดยจากการสังเกตพบว่าจะพบได้มากในช่วงฟ้าครึ้ม และยังบินตอนฝนตกได้ แต่กลับไม่พบบินในช่วงที่มีแดดออก ขณะที่รายงานในปัจจุบันของพิพิธภัณฑสถาณธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการพบลงตอมดอกของไม้ป่าในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) และวงศ์ผกากรอง (Verbenaceae) โดยรวมแล้วนักวิทยาศาสตร์จึงคาดการณ์กันว่าผึ้งหลุมอิมแพเทียนส์น่าจะมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์โดยผสมเกสรแก่พืชดอกเฉพาะกลุ่ม

ลักษณะเด่น : ขนาดตัวของผึ้งหลุมอิมแพเทียนส์จะค่อนข้างใหญ่โดยทั้งขนาดตัวและรูปร่างภายนอกจะดูคล้ายคลึงกับผึ้งหลวง (Apis dorsata) แต่ผึ้งชนิดนี้จะมีลักษณะเด่นคือส่วนหัวและส่วนท้องจะค่อนข้างอ้วนหนากว่า ขาหลังไม่มีตะกร้าเก็บเรณู (pollen basket) แต่จะมีแผงขนจำนวนมากที่ใช้เก็บเรณู (scopa) อยู่แทน บริเวณหน้าของตัวผึ้งจะมีสีดำตัดกับลวดลายสีเหลืองขาวที่มีรูปร่างคล้ายกับลูกศรชี้ขึ้น ส่วนของขาจะมีสีโทนเหลืองน้ำตาล ในขณะที่เพศผู้จะมีส่วนหนวดที่ยาว บริเวณหน้ามีพื้นที่สีเหลืองแผ่กระจายมากกว่า และขาหลังจะมีการดัดแปลงพิเศษทำให้มีขนาดใหญ่และมีส่วนยื่นออกชัดเจน

รหัสพันธุกรรม :

การกระจายพันธุ์ : ผึ้งหลุมอิมแพเทียนส์มีรายงานการพบอย่างเป็นทางการจากประเทศไทย มาเลเซีย แจะจากบริเวณหมู่เกาะสุมาตรา โดยเป็นผึ้งหายากที่มักพบในพื้นที่ป่า ทั้งนี้มีการคาดการณ์กันว่าแท้จริงแล้วผึ้งชนิดนี้อาจมีการกระจายทั่วในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอกสารอ้างอิง :
Lieftinck, M.A. 1966. Notes on some anthophorine bees, mainly from the Old World (Apoidea). Tijdschrift voor Entomologie 109(6): 125-161.

ผู้เขียนบทความ : P. Nalinrachatakan (2022)

แผนที่แสดงพิกัดของตัวอย่างผึ้งในฐานข้อมูล :