Database / Halictidae / Nomia (Gnathonomia) thoracica


ผึ้งโนเมียหลังสักหลาด (Felt-topped Nomia)
Nomia (Gnathonomia) thoracica Smith, 1875

All images are from GBIF dataset: Database and digitization of bees in Thailand. (licensed under http://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/)

See Gallery

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน
Order:
Family: Halictidae
Tribe: Nomiini
Genus: Nomia
Subgenus: Gnathonomia
Specific epithet: thoracica
Authorship: Smith, 1875
Scientific Name: Nomia (Gnathonomia) thoracica Smith, 1875


ข้อมูลเบื้องต้น : ผึ้งโนเมียหลังสักหลาดเป็นผึ้งที่พบได้ค่อนข้างยากและมักพบเฉพาะในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ หรือใกล้กับพื้นที่ป่า ซึ่งมีรายงานจากประเทศจีนว่าผึ้งชนิดนี้มักเข้าผสมเกสรให้กับพืชป่าหลากหลายชนิด ขณะที่นอกเหนือจากข้อมูลดังกล่าว ผึ้งชนิดนี้ยังขาดข้อมูลผื้นฐานทางชีววิทยาอื่น ๆ อยู่มาก แต่ทั้งนี้ ผึ้งโนเมียหลังสักหลาดก็ยังจัดว่าเป็นผึ้งโนเมียสกุล Gnathonomia ที่สามารถพบได้ง่ายที่สุด นั่นทำให้งานศึกษาในประเทศสิงคโปร์ยังเลือกที่จะจัดผึ้งโนเมียหลังสักหลาดเป็นชนิดพันธุ์ที่ยังเป็นกังวลน้อย (Least Concern: LC) ตามเกณฑ์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

ลักษณะเด่น : เช่นเดียวกับชื่อของผึ้งโนเมียหลังสักหลาด ลักษณะเด่นของผึ้งชนิดนี้คือการมีขนสั้นสีน้ำตาลที่ขึ้นเป็นแผงมีลักษณะคล้ายผ้าสักหลาด ปรากฎอยู่ที่หลัง หรือก็คือบริเวณด้านบนของ mesosoma ในส่วน scutum และ scutellum ผึ้งชนิดนี้มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ (10-12 มิลลิเมตร) ร่างกายโดยทั่วไปมีสีดำ ขณะที่ส่วนของ metasoma หรือปล้องท้องจะมีแถบพื้นผิวสีโทนขาวงาช้างพาดเป็นลาย ซึ่งในเพศเมียจะมีปรากฎที่แผ่น T1-T5 ส่วนในเพศผู้จะพบเฉพาะ T2-T5 และขาคู่หลังจะมีการดัดแปลงพิเศษซึ่งส่วน femur จะโป่งพองเป็นก้อน

รหัสพันธุกรรม : -

การกระจายพันธุ์ : ผึ้งโนเมียหลังสักหลาดมักพบในพื้นที่ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ สามารถพบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นไปยันทางตอนเหนือของประเทศจีน และยังมีการแพร่กระจายไปทางแถบประเทศอินเดียอีกด้วยแต่จะสามารถพบได้น้อยกว่า

เอกสารอ้างอิง :
Ascher JS, Zestin WW, Shao XC, Eunice JY, Benjamin MH, John XQ, Anya RG, Xin RO (2022) The bees of Singapore (Hymenoptera: Apoidea: Anthophila): ?rst comprehensive country checklist and conservation assessment for a Southeast Asian bee fauna. Ra?es Bull Zool 70:39–64. https:// doi. org/ 10. 26107
Huang, H.R. (2008) A taxonomic study of the subfamily Nomiinae (Hymenoptera, Apoidea) from China. Beijing Forestry University Master Dissertation, Beijing, 135 pp.
Pauly, A. (2009) Classification des Nomiinae de la R?gion Orientale, de Nouvelle Guin?e et des ?les de l’Oc?an Pacifique (Hymenoptera: Apoidea: Halictidae). Bulletin de l’Institute Royal des Sciences Naturelles de Belgique, 79, 151–229.
Zhang, Dan, Niu, Ze-Qing, Orr, Michael C., Ascher, John S. & Zhu, Chao-Dong, (2020) Chinese species of Nomia (Gnathonomia) Pauly, 2005 (Hymenoptera: Apoidea Halictidae: Nomiinae), pp. 76-94 in Zootaxa 4768 (1) on page 84, DOI: 10.11646/zootaxa.4768.1.5


ผู้เขียนบทความ : Pakorn Nalinrachatakan (2022-04)

แผนที่แสดงพิกัดของตัวอย่างผึ้งในฐานข้อมูล :