Database / Apidae / Xylocopa (Platynopoda) latipes


แมลงภู่ยักษ์แขนใหญ่ (Broad-handed Carpenter bees)
Xylocopa (Platynopoda) latipes Dury, 1773

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน
Order: Hymenoptera
Family: Apidae
Tribe: Xylocopini
Genus: Xylocopa
Subgenus: Platynopoda
Specific epithet: latipes
Authorship: Dury, 1773
Scientific Name: Xylocopa (Platynopoda) latipes Dury, 1773


ข้อมูลเบื้องต้น : แมลงภู่ยักษ์แขนใหญ่จัดเป็นผึ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และคาดว่าจะเป็นแมลงภู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในหลายการศึกษาระบุว่าแมลงภู่ชนิดนี้มักเจาะทำรังในท่อนไม้ผุ สามารถบินได้ไกลและเก็บเกสรจากพืชดอกได้มากกว่า 13 วงศ์ ทั้งไม้พุ่มและไม้ยืนต้น ขาหน้าของเพศผู้มีการดัดแปลงขยายใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการผสมพันธุ์ (เช่นในผึ้งสกุล Megachile ที่มัดจะใช้ขาหน้าในการจับส่วนหัว หนวด หรือลูบปิดตาประกอบของเพศเมียในช่วงผสมพันธุ์)

ลักษณะเด่น : มีร่างกายขนาดใหญ่สีดำ (ตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวมากถึง 3.8 เซนติเมตร) ส่วน scutellum ยกตัวเป็นสันชัดเจน ในเพศผู้ ส่วนหัวจะมีตาประกอบ (compound eye) ขนาดใหญ่ที่ขยายจนเกือบชนกันตรงกลางกระหม่อม (vertex) ส่วนก้านหนวด (scape) ตรงปลายมีการขยายเป็นแผ่น ขาหน้าส่วน tarsus จะมีโทนขาวคล้ายงาช้าง โดยที่ tarsus ปล้องฐาน จะมีการขยายขนาดโดยแผ่แบนออกเป็นทรงโค้ง และมีแผงขนยาว เป็นที่มาของชื่อแมลงภู่ยักษ์แขนใหญ่

รหัสพันธุกรรม : -

การกระจายพันธุ์ : สามารถพบด้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และยังพบในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว พม่า เวียดนาม รวมไปถึงประเทศจีนและอินเดีย

เอกสารอ้างอิง :
Batra, S. W. T. (1978). Aggression, Territoriality, Mating and Nest Aggregation of Some Solitary Bees (Hymenoptera: Halictidae, Megachilidae, Colletidae, Anthophoridae). Journal Of The Kansas Entomological Society, 51(4), 547-559.
Mawdsley, J. (2015). An annotated checklist of the large carpenter bees, genus Xylocopa Latreille (Hymenoptera: Apidae), from the Philippine Islands. Oriental Insects, 49(1-2), 47-67.
Raju AJS, Rao SP. 2006. Nesting habits, floral resources and foraging ecology of large carpenter bees (Xylocopa latipes and Xylocopa pubescens) in India. Current Science. 90(9):1210–1217.
Wittman, D. and B. Blochtein. (1995). “Why males of leafcutter bees hold the females’ antennae with their front legs during mating”. Apidologie 26, 181-195.


ผู้เขียนบทความ : Pakorn Nalinrachatakan (2021)

แผนที่แสดงพิกัดของตัวอย่างผึ้งในฐานข้อมูล :